ITIL : Information Technology Infrastructure Library (อินฟอเมชั่น เทคโนโลยี อินฟาสสตักเจอร์ ไลบารี่) ถูกพัฒนาโดย OGC : Office forGovernment Commerce (ออฟฟิต ฟอโกลเวอร์เมน คอมเมจ) พัฒนาร่วมกับ BSI : British Standard Institute (บิตทิส สแตนดาด อินทิทีฟ) มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง Best Practice (เบส แพตติก) สำหรับกระบวนการบริหารงานบริการด้านสารสนเทศ IT Service Management (ไอที เซอวิส เมเนจเม้นต์)
ประโยชน์ของ ITIL (ไอทีไอแอล)
ITIL จัดว่าเป็นการรวบรวมเอาความรู้ที่มีอยู่แล้วในการบริหารจัดการศูนย์ ฯ ซึ่งได้ถูกนำไปใช้แล้วในวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ IT (ไอที) ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ITIL จึงถูกเรียกว่าเป็น Best Practice (เบส แพตติก) ของการบริหารจัดการ IT (ไอที) ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการกล่าวถึง ITIL ในแง่ที่เป็น IT Service Management Framework (ไอที เซอวิส เมเนจเม้นต์ เฟรมเวิร์ก) กันอย่างแพร่หลาย และได้กลายเป็น de facto standard (ดี เฟกทู สแตนดาด) ไปในปัจจุบัน ประโยชน์จากการนำความรู้ ITIL มาใช้นั้น คือประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่สามารถปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้นมีประสิทธิภาพมาก ซึ่งได้แก่
– การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้คุ้มค่ามากขึ้น
– สร้างเสริมความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด
– ช่วยลดงานซ้ำซ้อนหรืองานที่ไม่จำเป็นลงได้
– ช่วยทำให้งานแต่ละโปรเจคท์ดำเนินไปได้ตามที่วางแผนไว้
– ปรับปรุงความสามารถในการให้บริการ IT (ไอที) แก่ลูกค้าให้ดีขึ้น
– สามารถหาต้นทุนของการให้บริการที่มีคุณภาพตามที่กำหนดได้
โครงสร้างของ ITIL (ไอทีไอแอล)
กระบวนการภายใน IT Service Management (ไอที เซอวิส เมเนจเม้นต์) ให้มั่นใจว่าบริการที่เน้นความสะดวก และต้นทุน IT Services (ไอที เซอร์วิส) มีการกำหนดอย่างชัดเจนสามารถวัดความสำเร็จกับการไปถึงให้บริการ และมาตรการปรับปรุงการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งมีส่วนประกอบหลัก 5 ส่วน ดังนี้
1. กลยุทธ์ด้านการบริการ SS : Service Strategy (เซอวิส สแตทิจี้)
เป็นกลยุทธ์ในด้านบริการเป็นการกำหนดแนวทางโดยให้หลักไว้ว่า Service Management (เซอวิส เมเนจเม้นต์) จะเป็นพื้นฐานในการกำหนด และบริหารนโยบายแนวทางปฏิบัติ และกระบวนการในการบริหาร การบริการอย่างครบวงจร
2. การออกแบบงานบริการ SD : Service Design (เซอวิส ดีไซต์)
เน้นการออกแบบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ในการะบวนการให้บริการรวมทั้ง การพัฒนากลยุทธ์ และวิธีการบริหารจัดการระบบบริการ โดยมีกุญแจหลักอยู่ที่
– Availability Management (แอพลาบิลิตี้ เมเนจเม้นต์) ความพร้อมที่จะให้บริการ
– Capacity Management (คาพาคชิตี้ เมเนจเม้นต์) ขีดความสามารถในการให้บริการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
– Continuity Management (คานทินิวลิตี้ เมเนจเม้นต์) ความสามารถในการให้บริการที่ต่อเนื่อง
– Security Management (ซิคูลิตี้ เมเนจเม้นต์) การบริหารระบบรักษาความปลอดภัย
3. การส่งมอบงานบริการ ST : Service Transition (เซอวิส ทรานซิสชั่น)
เน้นที่การดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการบริการที่ดีที่สุดเป็นบริการที่ส่งมอบเพื่อนำไปใช้ในระบบปฏิบัติงาน การรับข้อมูลจาก Service Design (เซอวิส ดีไซต์) การส่งมอบสถานการณ์ดำเนินงานในทุกรายการเพื่อให้ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีกุญแจหลักอยู่ที่ของ Service Transition (เซอวิส ทรานซิสชั่น) คือ
– Change Management Configuration Management Release Management (เซง เมเนจเม้นต์ คอนฟิกกูเรชั่น รีเรด เมเนจเม้นต์)
– Service Knowledge Management (เซอวิส โนเรด เมเนจเม้นต์) การจัดการความรู้บริการ
4. การปฏิบัติงานบริการ SO : Service Operation (เซอวิส โอปาเรชั่น)
เน้นไปทางด้านกิจกรรมที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการดูแลรักษาหน้าที่การทำงานหรือบริการ ที่เป็นไปตามข้อตกลงว่าด้วย พันธะ สัญญาบริการ Service Level Agreement (เซอวิส เลเวล อกิวเม้นต์) ที่มีต่อลูกค้า
5. การพัฒนางานด้านบริการ CSI : Continual Service Improvement (คอนทินิว เซอวิส อิมพอตเม้นต์)
เน้นที่ขีดความสามารถที่ทำให้เกิดขีดความสามารถในการปรับปรุงการให้บริการที่มีคุณภาพอยู่แล้ว ให้มีความต่อเนื่องกัน
สรุป
การบริหารจัดการด้วย ITIL (ไอทีไอแอล) เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการลงทุนไม่ใช่น้อย นับตั้งแต่การให้การศึกษาแก่บุคคลากรในองค์กร รวมถึงการนำ ITIL เข้ามาใช้ในองค์กร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งอาจหมายถึงการจัดซื้อจัดหาเครื่องมือซอฟท์แวร์ ที่จะใช้ช่วยในการจัดทำแต่ละกระบวนการ และอาจรวมถึงการจ้างที่ปรึกษาหรือผู้ชำนาญการ มาเป็นผู้ริเริ่มจัดทำกับบุคคลากรของหน่วยงานไปด้วยกัน
Referance
nstdaacademy.com/แนวปฏิบัติสากล ITIL 3.0
PDF/การนํามาตรฐาน ITIL มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการการให้บริการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ